ขับรถไม่มี พรบ. และประกันจะคุ้มครองหรือไม่?

494 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไม่มีพรบ

|หากขับรถไม่มีพรบ จะเป็นอย่างไร ได้รับความคุ้มครองหรือไม่
  มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
การนำรถไม่มี พ.ร.บ. ออกไปใช้บนท้องถนน หรือเป็นรถที่ พ.ร.บ. รถยนต์ขาด หากพบเจอเจ้าหน้าที่เรียกตรวจอาจมีโทษทางกฎหมายและถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือหากต่อ พ.ร.บ. รถยนต์แล้ว แต่ไม่ติดในจุดที่เห็นได้ชัดเจนก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ดังนั้นก่อนเดินทางไกลควรเช็ก พ.ร.บ. รถยนต์ทุกครั้ง ว่า พ.ร.บ. ขาดหรือไม่ และต่อเรียบร้อยแล้วหรือยัง อีกทั้งควรเช็กตำแหน่งที่ติด พ.ร.บ. รถยนต์ให้เห็นชัดเจนด้วย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง

|ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้
   การต่อภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถจะต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ แนบไปกับเอกสารการต่อด้วย ซึ่งหากรถไม่มีพรบ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุ ก็จะไม่สามารถต่อ       ภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้ มากกว่านั้นหากปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาดนานกว่า 3 ปี อาจส่งผลให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับถาวรและจะต้องไปขอป้ายทะเบียนใหม่ด้วย

|ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์
  เมื่อรถไม่มีพรบ เกิดอุบัติเหตุแต่ไม่มีคู่กรณีหรือผู้ประสบภัย จะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ และยังจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ เองทั้งหมด แต่หากรถไม่มี    พรบ ประสบอุบัติเหตุ และมีบุคคลภายนอกหรือคู่กรณีบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ทางคู่กรณีสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ โดยทาง        กองทุนฯ จะทำการชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ประสบภัยก่อน และจะไปไล่เก็บเบี้ยคืนกับทางเจ้าของรถ ซึ่งจะบวกเงินเพิ่มจากเดิมอีก 20% รวมกับค่าปรับที่ไม่ทำหรือต่อ        พ.ร.บ.รถยนต์ และค่าปรับที่นำรถไม่มีพรบ มาใช้งานเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท 

|เป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุ เบิก พ.ร.บ.รถยนต์ ของคู่กรณีได้
  ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นและเราเป็นฝ่ายถูก แต่รถที่ประสบภัยเป็นรถไม่มีพรบ ก็สามารถที่จะเบิกค่าใช้จ่ายเบื้องต้นกับทางคู่กรณีได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน      30,000 บาท หรือเงินชดเชยกรณีที่มีการเสียชีวิตและทุพพลภาพคนละ 35,000 บาท

|ยังได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ในกรณียกเว้น
  หากรถยนต์ที่ขับเป็นรถไม่มีพรบ และเข้าข่ายดังต่อไปนี้ ผู้ประสบภัยจากรถสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้

  • ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่มีประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์ และเจ้าของรถไม่ยอมจ่าย
  • มีผู้ประสบภัยจากรถที่ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักขโมย ชิงปล้น ที่ถูกแจ้งความเอาไว้แล้ว
  • มีผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่มีคู่กรณีแสดงตนเป็นเจ้าของรถ และรถคันดังกล่าวไม่มีพรบ
  • มีผู้ประสบภัยจากการชนแล้วหนี หรือไม่ทราบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดจากรถคันไหน
  • มีผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับการยกเว้นและไม่ได้จัดทำประกันภัย พรบ. เอาไว้
  • บริษัทประกันภัยไม่ยอมจ่าย หรือจ่ายไม่เต็มจำนวน
|ผู้ประสบภัย เบิก พ.ร.บ. ก่อนได้ แต่ต้องจ่ายเงินคืนกองทุนทดแทน
  แม้ว่ารถที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นจะเป็นรถไม่มีพรบ ทำให้ผู้ประสบภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยได้ แต่ยังสามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก        กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ เพื่อเป็นการเยียวยา ฟื้นฟูผู้ประสบภัยจากรถให้สามารถได้รับการรักษาพยาบาลหรือการจัดงานศพได้ทันท่วงที แต่เมื่อกองทุนฯ จ่ายชดเชย      แล้ว จะทำการเรียกเก็บเบี้ยคืนจากเงินที่จ่ายไปพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากเจ้าของรถหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย (ที่มา : วิริยะประกันภัย)

เมื่อทราบกันแล้วว่าหากคุณขับรถไม่มีพรบ ออกไปบนท้องถนนจะเป็นอย่างไร และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นประกันยังจะคุ้มครองหรือไม่ บทความนี้จะช่วยให้ผู้ใช้รถทุกคนได้เข้าใจมากขึ้น ที่สำคัญผู้ใช้รถทุกคนควรหมั่นตรวจเช็กอายุ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่ให้ขาด ซึ่งหากใครที่รู้ตัวว่า พ.ร.บ.รถยนต์ ถึงเวลาต่อแล้ว แต่ไม่สะดวกเข้าไปต่อที่กรมขนส่ง สามารถเข้าไปต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ รวมถึงทำประกันรถยนต์ชั้นต่างๆ ผ่านช่องทางไลน์ OA :@asinlife หรือ โทร. 095 952 6514

สมัครเป็นสมาชิกซื้อประกันภัย พ.ร.บ. /ประกันภัยรถยนต์ Online (รับเงื่อนไขพิเศษ)

สอบถามข้อมูลประกันภัย
สำนักงานแอสอินไลฟ์โบรคเกอร์
โทรศัพท์ : 095 952 6514
LineOA:@asinlife
https://lin.ee/BCezRtB
ประกันภัย ง่ายครบ จบที่เรา
| ประกันภัยรถยนต์2+คุ้มครองรถพลิกคว่ำ  | ประกันภัย พรบ.กฏหมายบังคับ | ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจออนไลน์   | ประกันมอเตอร์ไซค์ออนไลน์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้