1139 จำนวนผู้เข้าชม |
ประเพณีบุญบั้งไฟ |
บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของประเทศไทย ตลอดจนประเทศลาว[ต้องการอ้างอิง] โดยมีที่มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องพญาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพญาแถน ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พญาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ปัจจุบันมีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ในระดับประเทศมีทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร ,ประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ ,ประเพณีบุญบั้งไฟพนมไพร และประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้านกุดหว้า โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัดยโสธร ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ นับแต่ ปี 2523 ซึ่งงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร จะจัดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมในทุกปี โดยทั้งนี้ ในงานที่จัดของจังหวัดยโสธร ยังมีความโดดเด่น ในวันก่อนแห่มีการประกวดกองเชียร์ จำนวนมาก รวมทั้ง วันแห่บั้งไฟ จะมีขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จากทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมด้วย เเละยังมีขบวนแห่สวยงาม จาก 9 คุ้มวัด ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย >>อ่านต่อ |
ประเภทของบั้งไฟ |บั้งไฟโหวด บั้งไฟโบดหรือโหวดเป็นบั้งไฟขนาดเล็กตัวกระบอกจะยาวขึ้น ประมาณ 4-10 นิ้ว บรรจุหมื่อหนักประมาณ 1 ส่วน 8 ถึง 1 ส่วน 2 กิโลกรัม ใช้หางยาวประมาณ 1-4 เมตร มีกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ มัดวางรอบตัวบั้งไฟ นิยมทำประกอบกันในบั้งไฟใหญ่ (บั้งไฟหมื่น, บั้งไฟแสน) ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำ เพราะไม่มีช่าง |บั้งไฟม้า บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดเล็กจุดไปตามทิศทางที่กำหนดใช้เส้นลวดเป็นวิถีตรึงไปยังเป้าหมายที่ต้องการ ลักษณะทั่วไปเป็นบั้งไฟที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่ 1 ปล้อง ขนาดแล้วแต่ต้องการ โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุตทางภาคกลางและภาคอีสานเรียกว่า “ลูกหนู” คล้ายม้าที่กำลังวิ่ง ถ้าติดรูปอะไรก็เรียกชื่อไปตามนั้น เป็นคนขี่ม้า รูปวัว แล้วแต่จะทำรูปอะไร บางครั้งภาคเหนือเรียกว่า บอกไฟยิง |บั้งไฟช้าง บั้งไฟชนิดนี้ไม่มีหาง มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่ากระโพกหรือตะโพก เวลาจุดไม่ต้องการให้พุ่งขึ้นไปแต่ต้องการมีเสียงร้องคล้ายกับช้างร้อง วิธีทำบั้งไฟให้ใช้กระบอกไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดยาวเพียงป้องเดียวให้มีข้อปิดทั้ง 2 ด้าน ทุบไม้ไผ่ให้แตกเล็กน้อย เจาะรู เพื่อบรรจุหมื่อแล้วต่อชนวนเข้ารูแท่งหมื่อทำจากหมื่อถ่าน 3-4 อัดลงในไม้ไผ่ขนาดเล็กให้แน่น แล้วผ่าเอาแท่งหมื่อออกมาคล้ายข้าวหลาม ให้ได้แท่งประมาณ 3 นิ้ว การจุดนั้นนิยมต่อพ่วงชนวนบั้งไฟใหญ่ เวลาจุดชนวนผ่าจะเกิดเสียงดังเหมือนเสียงช้างร้อง นิยมวางต่อกันเป็นช่วงๆ กระบอก ถ้าต้องการจะให้มีเสียงดังอย่างไรก็จะมีเทคนิคในการทำให้เกิดเสียงนั้นๆ |บั้งไฟแสน บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุด บรรจุดินปืนหนัก 120 กิโลกรัมขึ้นไป บั้งไฟขนาดนี้ทำยากที่สุดจะต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะบั้งไฟขนาดนี้หากแตกแล้วจะเป็นอันตรายมาก เพราะฉะนั้นก่อนทำบั้งไฟจะต้องมีพิธีกรรมบวงสรวงให้ถูกต้องตามหลักการทำบั้งไฟแสนเสียก่อนจึงจะลงมือทำ เมื่อตกบั้งไฟเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีการตกแต่งประดับประดาบั้งไฟ |บั้งไฟตะไล บั้งไฟชนิดนี้ก็คือบั้งไฟจินายขนาดใหญ่นั่นเอง มีความยาวประมาณ 9-12 นิ้ว รูปร่างกลมมีไม้บางๆ แบนๆ เป็นวงกลมครอบหัวท้ายบั้งไฟเมื่อพุ่งขึ้นสู่ฟ้าไปโดยทางขวาง |บั้งไฟตื้อ บั้งไฟตื้อหรือบั้งไฟกระแตนั่งตอ เป็นบั้งไฟขนาดเล็กมีหางสั้น วิธีทำ ตัดกระบอกไม้ไผ่ขนาด 1 นิ้วครึ่งยาวประมาณ 3 นิ้ว อัดหมื่อให้แน่นประมาณ 2 นิ้ว ใช้หมื่อถ่านสามหรือถ่านสี่อัดด้วยเถียดไม้ให้แน่น ต่อหางซึ่งทำจากไม้ไผ่ เหลาเป็นแท่งเล็กๆ ใช้เลื่อยตัดมุมข้อออกจนเห็นหมื่อ เจาะให้เป็นรูเล็กๆ แล้วติดชนวน เวลาจะจุดเอาหางเสียบลงในแท่นที่ตั้งพอให้ตั้งได้ จุดชนวนจากด้านบน บั้งไฟจะพุ่งและหมุนขึ้นสู่อากาศ เกิดเสียงดังตือๆ เวลาหมุนจะไม่ค่อยมีทิศทาง ใช้จุดในงานศพ เวลาจุดมีอันตรายมากไม่ค่อยนิยมทำกั |บั้งไฟพลุ บั้งไฟพลุ เป็นบั้งไฟที่นิยมจุดในเทศกาลต่างๆ เช่น งานกฐิน งานบุญมหาชาติ หรือ งานเปิดกีฬา ฯลฯ เป็นบั้งไฟที่จุดแล้วทำให้เกิดเสียงดัง ในอดีตนิยมจุดในงานกฐิน เพื่อเป็นการบอกข่าวไปยังพี่น้องประชาชนทั่วไปให้ทราบ บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี >>ที่มาบทความ |
|ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกกิจกรรมการจดังานประเพณีจุดบั้งไฟ |